เผยทริค… นำเสนองานอย่างไร ให้เป๊ะปัง ถูกใจ

เชื่อว่าใครหลายๆ คนต้องเคยมีประสบการณ์นำเสนองานกันบ่อยๆ ใช่ไหมล่ะครับ ผมเองก็เหมือนกันครับ ผมเองก็เคยใช้นำเสนองานมาหลายๆแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ เดินไปชี้ที่หน้าจอ เอาไม้ชี้ไปชี้ที่กระดาน เพราะเวลาที่เรานำเสนองานหน้าชั้นเรียนหรือนำเสนอโปรเจค เราก็ต้องทำให้ดูหน้าสนใจ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมมีวิธีการนำเสนองานให้ดูดีและได้ผลกัน

 

 

  • จุดเริ่มต้นของทั้งหมด เริ่มขึ้นด้วย… เรื่องเล่า / คำถาม / คำคม

          หากเราต้องฟังการนำเสนอในเรื่องที่เข้าใจยาก เราคงไม่อยากฟังเนื้อหาที่มันหนักเกินไปใช่ไหมล่ะครับ เพราะฉะนั้นการเริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องเพื่อเป็นการให้ผู้ฟังของเราได้เตรียมความพร้อมกับเนื้อหาที่กำลังจะมาถึง และเป็นการเพิ่มความหน้าสนใจให้กับเนื้อหาของเราด้วย

          และนอกเหนือจากการเล่าเรื่องที่น่าสนใจแล้ว การตั้งคำถามชวนคิดเพื่อให้ผู้ฟังได้คิดตามและนำเข้าสู่ประเด็น จะทำให้การนำเสนอของเราน่าสนใจขึ้นไปอีก การพูดอาจจะทำให้ไม่เห็นเท่ากับการลงมือทำ เมื่อไม่เห็นภาพเพราะฉะนั้นการเล่าเรื่องครั้งนี้ ผมจึงขอมีภาพประกอบด้วย

 

ถกกันตาสว่าง หนุ่มเผยป้ายเขตแก้ง่วงกับคำถามชวนคิด อยากรู้เฉลยต้องไปอีก 2 กม.

ที่มาภาพ : Thairath

 

ใครก็ได้ช่วยตอบผมทีครับว่าคำตอบที่แท้จริงของมันคืออะไร?

แล้วนี่ก็นำมาสู่เนื้อหาของเรานะครับ เพื่อให้การนำเสนองานของเรามีความน่าสนใจทั้งในด้านเนื้อหาและความเอนเตอร์เทน การนำเรื่องเล่า ประกอบกับคำถามชวนคิด และรูปภาพที่น่าสนใจ ช่วยให้เราสามารถนำผู้ฟังของเรา (หรือในที่นี้ก็คือผู้อ่าน) เข้าสู่ประเด็นที่เราต้องนำเสนอนั่นเอง

 

  • ฝึกฝน ฝีกฝน ฝึกฝน

          การนำเสนองานเราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสามารถจดจำเนื้อหาที่มีทั้งหมด และการหันไปอ่านสไลด์หรือการพูดตะกุกตะกักก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเราไม่มีความมั่นใจในข้อมูลที่เตรียมมา เพราะฉะนั้นการฝึกซ้อมสักเล็กน้อยก่อนที่จะทำการนำเสนอจริงจะทำให้เราได้ทบทวนการพูดของตัวเองอีกครั้ง รวมถึงเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับเราด้วย “Practice Makes Perfect”

 

  • รู้เรา รู้เขา แค่นี้ก็เข้าใจกัน

          โบราณเคยว่าไว้ หากรู้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไร เราเองที่เป็นต่อ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่เราต้องเรียนรู้ก่อนทำการนำเสนอคือ เข้าใจว่าคนฟังของเราเป็นใคร พวกเขาต้องการอะไร เพราะคงไม่มีใครเอาเรื่องแคลคูลัสมาเล่าให้เด็กประถมฟัง เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพราะการที่เราทำความเข้าใจกับพวกเขา จะช่วยให้เราสามารถเลือกวิธีการหรือสไตล์การนำเสนอได้ถูกที่ถูกทาง เสริมให้ความปังเพิ่มขึ้นมาอีกขั้น

 

  • 10 Min Miracles

          เคยฟังอะไรนานๆ แล้วรู้สึกเบื่อบ้างไหม? นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้ฟังของคุณหากคุณพูดนานเกินไป เราควรบริหารเวลาและเนื้อหาให้เหมาะสมกัน อะไรที่ไม่สำคัญกับประเด็นหลักเราอาจจะตัดมันออกไปก่อน แล้วค่อยกลับมาเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งก็ได้ เพราะคงไม่มีใครชอบฟังอะไรนานเกิน เพราะฉะนั้นการจับเวลาตัวเอง ก็จะเป็นผลดีช่วยเราควบคุมเนื้อหาได้อีกทางหนึ่ง หากไม่รู้ว่าควรใช้เวลาประมาณไหน ลองใช้กฎ 10 นาทีเป็นพื้นก่อน

 

  • อย่าทิ้งใครไว้ข้างหลัง

          การนำเสนอแต่ละงานก็มีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ที่ว่าคนฟังของเรานั้นคือใคร แต่สิ่งที่สำคัญอย่าลืมให้คนฟังของเรามีส่วนร่วมในการนำเสนอด้วย เพราะฉะนั้นถ้ามีโอกาสควรให้คนฟังได้แสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถาม ก็จะช่วยให้การนำเสนอครั้งนั้นมีสีสันและน่าสนใจมากขึ้น

 

  • Eyes Contacts

          อีกหนึ่งขั้นตอนในการทำให้การนำเสนอประสบความสำเร็จสูงสุด นั่นคือการมี “ปฏิสัมพันธ์” กับคนฟังของคุณ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม และถ้ายิ่งถึงจุดสำคัญของการนำเสนอแล้ว หากคนฟังไม่สนใจก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นการมีอุปกรณ์ช่วยในการนำเสนองานก็จะทำให้คุณมีความ Professional มากยิ่งขึ้นอย่างเช่น “Pointer” ที่สามารถเปลี่ยนสไลด์ได้จากระยะไกลนั่นเอง

 

แล้ว…. Pointer มันมีแบบไหนที่น่าสนใจกันบ้างล่ะ?

 

ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าคุณต้อการ Pointer แบบใด ซึ่งในวันนี้เราได้มี Pointer จาก Logitech มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกัน ที่เรานำมาในวันนี้มีทั้งหมด 3 รุ่น

 

Logitech R400

สำหรับ Logitech R400 นั้นเป็นรุ่นที่ราคาไม่แพงมาก ด้วยการใช้งานที่ไกลสูงสุด 15 เมตร ผ่านการเชื่อมต่อแบบ Plug and Play ด้วย Bluetooth 2.4 GHz สำหรับใครที่กำลังมองหา Pointer รุ่นเริ่มต้น Logitech R400 ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ด้วยราคาที่สมเหตุสมผลและใช้งานได้ไม่ยาก เพียงแค่เรา

 

 

 

Logitech R800

ส่วนใครที่ต้องการจับเวลาแต่การมองนาฬิกาข้อมือเป็นอุปสรรค์ ก็ขอแนะนำให้เป็น Logitech R800 ที่จะมีส่วนเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาคือนาฬิกาจับเวลา ที่อยู่บริเวณหน้าจอ ซึ่งจะช่วยบอกให้เรารู้ว่าควรบริหารเวลากับเนื้อหาต่ออย่างไร สำหรับการเชื่อมต่อเป็นวิธี Plug and Play เช่นเดียวกันกับ Logitech R400 แต่ระยะการเชื่อมต่อจะไกลมากยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถอยู่ห่างจากตัวรับสัญญาณได้ไกลถึง 30 เมตร ช่วยให้เราสามารถนำเสนอจากมุมไหนของห้องก็ได้ และยิ่งทำให้สามารถเดินเข้าไปหาคนฟังได้ใกล้มากยิ่งขึ้น

Logitech Spotlight

สำหรับรุ่นสุดท้ายที่นำมาแนะนำในคือ Logitech Spotlight แต่ไม่ต้องตกใจไป เราไม่ได้เอาไฟ spotlight ไปชี้หน้าใครแน่นอน และด้วยการที่เรานำของชิ้นนี้มานำเสนอเป็นตัวสุดท้าย ก็เพราะด้วยฟังก์ชั่นและการใช้งานของเขานั้นเยอะมากๆ

 

 

เริ่มจากการใช้งานเบื้องต้นกันก่อน ซึ่งจะเหมือนกันกับ Pointer ตัวอื่นๆ แต่สิ่งที่แตกต่างกันออกไปคือ Pointer ตัวนี้ไม่มี Laser

 

 

แล้วไม่มี Laser มันจะเป็น Pointer ไปได้อย่างไร?

 

 

คำตอบก็คือ ใช่ การใช้งานของ Logitech Spotlight นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้งานร่วมกับโปรแกรม Logitech Presentation เพื่อใช้งานฟังก์ชั่นการ Spot ไปยังจุที่ต้องการ ซึ่งเราสามารถเลิกวิธิการ Spot ได้ถึง 3 รูปแบบด้วยกัน

 

 

ซึ่งนอกเหนือจากการเลิกวิธีการ Spot จุดที่ต้องการได้แล้ว เรายังสามารถตั้งค่าให้ปุ่มต่างๆ เป็นเหมือน Hot Key ที่สามารถป้อนคำสั่งลงไปได้อีกด้วย และถึงแม้ว่า Logitech Spotlight จะไม่มีหน้าจอจับเวลาแบบเดียวกับ Logitech R800 แต่ก็มีฟังก์ชั่นการสั่นเพื่อบอกเวลาได้โดยการตั้งเวลาในโปรแกรม Logitech Presentation เช่นเดียวกัน

 

 

เข้าสู่ช่วงท้ายของการนำเสนอแล้ว สำหรับใครที่ต้องนำเสนองานอยู่บ่อย สามารถนำวิธีที่ปผมได้เล่าไปก่อนหน้านี้ไปลองใช้งานกันดู แต่ถ้าใครกำลังมองหา Pointer สักหนึ่งตัว Logitech ทั้งสามรุ่นที่ได้แนะนำไปก็เหมาะสมที่จะนำไปลองใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนองานให้เข้าใกล้ความสำเร็จไปอีกขั้น แต่ที่สำคัญความมั่นใจและการฝึกฝน จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จที่แท้จริง “Practice Makes Perfect”

 

You cannot copy content of this page