รีวิว Seuic (New)AUTOID9 | ตัวช่วยร้านค้าออนไลน์ หลากหลายฟังก์ชั่น

สำหรับใครที่เคยซื้อสินค้าตามซุปเปอร์มาเก็ต หรือร้านค้าต่างๆ น่าจะคุ้นเคยกับการแสกนบาร์โค้ดเพื่อจ่ายเงินใช่มั้ยคะ รู้สึกสงสัยกันมั้ยว่า แสกนทำไมกันนะ เพื่อเช็คราคา? เพื่อออกบิล? เพื่อเก็บข้อมูล? แต่ละที่ก็มีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไปค่ะ นอกจากการแสกนบาร์โค้ดตามร้านที่เห็นกันแล้วเนี่ย ยังมีการนำบาร์โค้ดไปใช้สำหรับเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงานอื่นๆอีกด้วย เดี๋ยวเราไปดูกันดีกว่าค่ะ ว่าบาร์โค้ดสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้อีก

ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักเจ้าบาร์โค้ดกันก่อน แถบแท่งสีดำสลับขาวที่คุ้นตากัน เป็นประเภทบาร์โค้ด 1 มิติ มีการใช้งานมาตั้งแต่ ค.ศ.1950 เลยละค่ะ มักจะนำมาใช้ในการระบุประเภทสินค้าตามซุปเปอร์มาเก็ตหรือห้างสรรพสินค้าที่มีสินค้าจำนวนมาก เพื่อความรวดเร็วและลดความผิดพลาดของข้อมูลนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งระบบบาร์โค้ดที่เรียกว่า EAN (European Article Numbering) ขึ้นมาอีกด้วยซึ่งก็ยังถูกใช้งานมาจนถึงปัจจุบันนะคะ

2D Barcode มาตรฐานสากล

แต่บาร์โค้ดแบบ 1 มิติก็มีข้อจำกัดตรงที่บรรจุข้อมูลได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลตัวเลขและตัวอักษร ถ้าข้อมูลเยอะๆ ก็จะทำให้บาร์โค้ดยาวและใหญ่ขึ้นไม่เหมาะสมต่อการใช้งานนั่นเองค่ะ จึงได้มีการพัฒนาบาร์โค้ดแบบ 2 มิติขึ้นมา โดยบรรจุข้อมูลได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำให้บรรจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ด 1 มิติถึง 200 เท่าและยังมีขนาดที่เล็กกว่าอีกด้วย จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างเลยก็คือสามารถใช้งานข้อมูลได้แม้ว่าบาร์โค้ดจะมีการเสียหายหรือไม่ชัดเจนบางส่วนอีกด้วยค่ะ คุ้นๆกันแล้วใช่มั้ยหล่ะคะ เพราะบาร์โค้ด 2 มิติที่เราใช้งานบ่อยๆก็คือ QR code นั่นเองค่ะ นอกจากนั้นยังมีบาร์โค้ด 2มิติอีกหลายแบบทั้ง PD417, MaxiCode และ Data Matrix เดี๋ยวจะขึ้นรูปให้ดูนะคะ

และสำหรับการใช้ประโยชน์ของบาร์โค้ดก็ถือได้ว่านำมาใช้งานได้อย่างกว้างขวางเลยหล่ะค่ะ นอกจากสำหรับร้านค้าและคลังสินค้าที่ใช้ระบุชนิดของสินค้าแล้ว นับจำนวน แยกประเภทสินค้า ระบุตำแหน่งสินค้าได้อีกด้วย

นอกจากนั้นยังนำมาใช้สำหรับการแพทย์ได้ โดยใช้ในระบุบนสายรัดข้อมือของผู้ป่วย เพื่อบันทึกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการรักษา เพื่อให้สะดวกในการติดต่อสื่อสารและอัพเดตอาการของผู้ป่วยได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วอีกด้วยค่ะ

บาร์โค้ดยังช่วยอำนวยความสะดวกอื่นๆในชีวิตประจำวันได้อีก ทั้งการโฆษณาที่สามารถทำ QR code เป็น link สำหรับเข้าสู่เว็บไซค์ต่างๆ หรือ add line เพื่อติดต่อสื่อสาร หรือแม้กระทั่งการเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ ในสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเก็บข้อมูลค่ะ

รู้จัก Barcode 2D บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหายได้อีกด้วย

และยังมีการใช้สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินอีกด้วย ทั้งการแสกนผ่านแอพธนาคารเพื่อจ่ายค่าสินค้า การโอนเงินให้บุคคล หรือชำระเงินในร้านต่างๆก็ถือว่าแพร่หลายมากในปัจจุบัน และที่ฮิตมากๆในปัจจุบันคือการใช้งานสำหรับโลจิสติกส์และร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ก็ใช้ประโยชน์จากบาร์โค้ด เพื่อระบุข้อมูลในการจัดส่งพัสดุอีกด้วยค่ะ

สำหรับการอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ด มักจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Barcode Scanner หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด นั่นเองค่ะ โดยมีอยู่หลายประเภทมากๆ มีเกณฑ์ในการแบ่งที่หลากหลายตามความเข้าใจและการนำไปใช้งาน แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการแบ่งประเภทตามหัวอ่านบาร์โค้ดกันนะคะ ที่สามารถแบ่งได้เป็น หัวอ่าน 1 มิติ และ หัวอ่าน 2 มิติค่ะ

เครื่องอ่านบาร์โค้ด 1 มิติ (รหัสแท่ง) | ราคาถูกที่สุด ยอดขายอันดับ 1 สินค้ามาตรฐานสากล , พอสแพค POSPAK เครื่อง POS Printer บาร์โค้ด Auto ID และ สติ๊กเกอร์ เลเบล.

หัวอ่านแบบ 1 มิติ มีข้อดีคืออ่านบาร์โค้ดได้เร็ว และสามารถระบุชัดเจนว่าอ่านบาร์โค้ดตัวไหน หากในสินค้า 1 ตัว มีบาร์โค้ดติดอยู่หลายตัว ข้อเสียคืออ่านบาร์โค้ด 2 มิติ(2D) ไม่ได้ และแสงเครื่องอ่าน ต้องอยู่บาร์โค้ดทุกเส้นทั้งหมด จึงจะสามารถอ่านได้ค่ะ

Honeywell Barcode Scanner | KS Barcode

หัวอ่านแบบ 2 มิติ มีข้อดีคือ สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ด 1 มิติและ 2 มิติ สามารถบาร์โค้ดได้ง่าย ขอเพียงบาร์โค้ดอยู่กรอบแสงของหัวอ่าน และอ่านบาร์โค้ดหลายตัวพร้อมกันได้ภายในการอ่านครั้งเดียว แต่บาร์โค้ดที่อ่านต้องอยู่ภายในกรอบแสงทั้งหมด ข้อเสียคือ อ่านบาร์โค้ดได้ช้ากว่า และหากมีบาร์โค้ดหลายตัวในสินค้าตัวเดียว จะมีปัญหาเรื่องการอ่าน บาร์โค้ดเฉพาะตัวที่ต้องการและราคาเครื่องอ่านแบบ 2 มิติ สูงกว่าเครื่องอ่าน 1 มิติ

อย่างไรก็ตามเครื่องแสกนบาร์โค้ดเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้อ่านบาร์โค้ดเพื่อแปรข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับข้อมูลเท่านั้น เพื่อความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น จึงมีการพัฒนาอีกอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ ขึ้นมา ซึ่งพัฒนามาจาก คอมพิวเตอร์พกพา (Mobile Computer) โดยเพิ่มหัวอ่านบาร์โค้ดเข้าไปในตัวอุปกรณ์นั่นเองค่ะ

วันนี้เราก็มีเครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือจากแบรนด์ Seuic มาแนะนำให้รู้จักกันค่ะ ต้องบอกก่อนเลยนะคะว่าแบรนด์นี้เนี่ยเขามีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แบบพกพามากเลยหล่ะค่ะ และยังส่งออกไปยังหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย ตัวที่เรานำมาวันนี้คือ (New)AUTOID9 นั่นเองค่ะ

ตัวเครื่องทำมาจาก magnesium alloy ออกแบบมาให้บางเพียง 21 มม และเบาเพียง 270 กรัม สามารถใช้งานมือเดียวได้สะดวก และตอบโจทย์การใช้ในอุตสาหกรรมอีกด้วยเพราะมีความแข็งแรงและทนทานมาก ทดสอบการตกที่ความสูงได้ 1.5 เมตร และยังป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์และป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้ที่ความลึกสูงสุด 1 m เป็นระยะเวลาสูงสุด 30 นาที ตามมาตรฐาน IP67 อีกด้วยค่ะ

ตัวเครื่องมีหน้าจอแบบ IPS ที่มีความคมชัด ใช้งานได้ในที่แสงสว่างมาก และขนาดใหญ่ถึง 4 นิ้ว กระจก Gorilla ปกป้องหน้าจอหนา 0.4 มม มาพร้อมปุ่มกด 17 ปุ่มที่ทำงานได้ครอบคลุมทุกฟังก์ชั่น หน้าจอสามารถใช้งานทัชสกรีนได้ขณะใส่ถุงมือ และยังสามารถใช้งานขณะเครื่องเปียกน้ำหรือมือเปียกได้อีกด้วย

ตัวเครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือตัวนี้ ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 9.0 ที่มาพร้อม CPU Cortex-A53 8-core 1.8GHz และมีหน่วยความจำหลักหรือ RAM 3GB หน่วยความจำถาวรหรือ ROM 32GB ถ้ายังรู้สึกว่าความจำไม่พอก็สามารถเพิ่ม Micro SD Card หรือ SDHC ได้มากถึง 32GB อีกด้วย

ที่สำคัญเลยเนี่ยตัวเครื่องสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทั้ง ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย WLAN รองรับ WIFI แบบ Dual Mode ใช้งานได้ทั้ง 2.4G และ 5.0G หรือระบบเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม WWAN สามารถใส่ซิมการ์ดเพื่อใช้งาน 2G/3G/4G ผ่านเครือข่ายมือถือได้อีกด้วย

MOBILE COMPUTER "SEUIC" รุ่น AUTO-ID 9 (IP67) - cps

ยังไม่หมดค่ะสำหรับเจ้า (New)AUTOID9 เพราะตัวเครื่องยังมาพร้อมกล้องความละเอียดสูงถึง 13 ล้านพิกเซลอีกด้วย ยิ่งพูดไปก็ชักจะคล้ายสมาร์ทโฟนดีๆสักเครื่องเลยใช่มั้ยคะ และสิ่งที่ทำให้ต่างจากสมาร์ทโฟนทั่วไปนั่นก็คือเซ็นเซอร์หัวอ่านสำหรับแสกนบาร์โค้ดนั่นเองค่ะ สำหรับตัวนี้ที่เราใช้อยู่จะสามารถอ่านบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ และ 2 มิติได้ค่ะ เป็นเซ็นเซอร์ของ Honeywell แบรนด์ดังจากอเมริกาเลยค่ะ เป็นแบรนด์ที่พัฒนาเซ็นเซอร์และเทคโนโลยีย่างหลากหลาย มั่นใจในคุณภาพของเซ็นเซอร์ได้แน่นอนค่ะ สำหรับ (New)AUTOID9 รุ่นนี้ยังมีอีกโมเดลที่ใช้เซ็นเซอร์ของแบรนด์ Seuic เอง ซึ่งคุณสมบัติอื่นๆที่ให้มาก็เหมือนกันทุกจุดเลยละค่ะ

เดี๋ยวมาลองเทสเครื่องและวิธีตั้งค่าตอนเริ่มต้นสำหรับร้านค้าให้ดูกันนะคะ สำหรับเครื่องใหม่เมื่อเปิดแล้วก็จะขึ้นมาแบบนี้เลยค่ะ มีข้อความ Hello There ขึ้นมาค่ะ เราก็กดเลือกภาษาเป็นภาษาอังกฤษนะคะ การตั้งค่าจะคล้ายกับตอนเปิดสมาร์ทโฟนเอนดรอยด์เครื่องใหม่เลยค่ะ จากนั้นก็ตั้งค่าไปเรื่อยๆ นะคะ จะมีให้เลือกซฺมการ์ดค่ะ ถ้าจะใช้อินเตอร์ผ่านเครือข่ายมือถือก็กดตั้งค่าได้เลย แต่เราสะดวกใช้เป็น WiFi เลยจะข้ามขั้นตอนนี้ไปนะคะ แล้วก็เชื่อมต่อ WiFi ตามปกติเลยค่ะ แล้วก็สำหรับระบบเอนดรอยด์ก็ต้องมีการเชื่อมต่อกับ Google Account ด้วยค่ะ ไว้สำหรับใช้งาน Play Store แต่ถ้าเรายังไม่อยากเชื่อมต่อหรือไม่จำเป็นต้องโหลด App อื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถข้ามการเชื่อมต่อไปก่อนได้ค่ะ เพราะตัวเครื่องจะมีโปรแกรมพื้นฐานมาให้แล้วค่ะ หลังจากเปิดเครื่องแล้วก็สามารถใช้งานได้เลยค่ะ เดี๋ยวจะมาลองใช้งานการยิงบาร์โค้ดเพื่อสแกนข้อมูลก่อนนะคะ จะลองใช้ผ่าน app notepad ค่ะ จะเห็นได้ว่ามีเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็วมากๆเลยค่ะ

แต่ว่าเมื่อเรานำมาใช้กับระบบออนไลน์ผ่าน Website นะคะ เบื้องต้นจะยังไม่สามารถดึงข้อมูลได้ค่ะ ต้องไปตั้งค่าเพิ่มเติมก่อนที่ Scan tool >> Setting >> เลื่อนลงไปด้านล่างสุด >> เปลี่ยนจาก Broadcast เป็นแบบ Focus ค่ะ ก็จะสามารถยิงข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ต่างๆได้แล้วค่ะ แบบนี้เลย

และเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นนะคะ จะเห็นว่าเวลาอ่านบาร์โค้ดเรียบร้อยแล้วเนี่ย จะต้องมีการกด Enter เองเพื่อไปขั้นต่อไป ทำให้ต้องเสียเวลาในการกดมากขึ้น เราสามารถตั้งค่า ให้เป็นแบบ Auto Enter เพื่อรับข้อมูลได้เลยค่ะ แบบนี้นะคะ กลับไปที่ Scan tool >> Setting >> เลื่อนลงไปด้านล่างสุด >> กดเปิดการใช้งาน End char post on input ค่ะ เมื่อตั้งค่าแล้วก็จะเป็นแบบนี้เลยค่ะ เมื่ออ่านบาร์โค้ดแล้ว ก็สามารถแสกนข้อมูลต่อไปได้ทันทีเลยค่ะ

ต่อมาค่ะ สำหรับใครที่ขายสินค้าแบบที่มีเลข EAN ของตัวสินค้าอยู่แล้ว ที่เราไม่ได้ตั้งค่าเอง อาจจะเจอว่าเลข EAN ที่มี 0 ข้างหน้าแบบนี้ค่ะ เครื่องจะไม่อ่านเลข 0 เพราะมองว่าไม่มีค่านั่นเองค่ะ เราสามารถตั้งค่าให้อ่านเลข 0 ตัวหน้าได้แบบนี้นะคะ ไปที่ Scan tool >> Barcode >> UPC/EAN >> UPC-A prefixing >> เลือกเป็น Only add the system character ค่ะ แค่นี้ก็จะสามารถอ่านเลข EAN ที่มี 0 ได้แล้วแบบนี้เลยค่ะ

สำหรับ ระบบออนไลน์ผ่าน Website ที่เราใช้งานบ่อยๆ ก็สามารถ Add Short Cut มาที่หน้าจอ Home แบบนี้เพื่อให้สามารถกดใช้งานได้ง่ายอีกด้วยค่ะ

การที่ตัวเครื่องใช้งานได้เหมือนมือถือทั่วไปอาจจะทำให้การทำงานขององค์กรรู้สึกกังวลว่าหากนำเครื่องไปใช้จริงอาจจะตรวจสอบไม่ได้หรือไม่ว่ามีการใช้เพื่อการทำงานจริงหรือไม่ ทาง Seuic ก็มี app ที่ติดมากับตัวเครื่องเรียกว่า mobile butler ที่สามารถล็อกตัวเครื่องให้สามารถใช้งานได้เฉพาะ App ที่กำหนดไว้เท่านั้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นไปตาม MDM (Mobile Device Management) หรือระบบบริหารการจัดการอุปกรณ์สื่อสารของพนักงาน เพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยของข้อมูลธุรกิจและองค์กรได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

น่าสนใจมากเลยใช่มั้ยคะสำหรับเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบมือถือเครื่องนี้ ที่จะทำให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น แสกนบาร์โค้ดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องคอยพกอุปกรณ์ขนาดใหญ่ไปมาไหนจะเครื่องอ่านบาร์โค้ด ไหนจะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องอยู่กับที่เครื่องย้ายก็ลำบาก Seuic (New)AUTOID9 จะตอบโจทย์การใช้งานที่สะดวกสบาย ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ใช้งานได้หลากหลายพื้นที่รวมทั้งสภาพอากาศต่างๆ และยังทนทานมากๆ ใช้งานได้อย่างยาวนาน มีระบบป้องกันความปลอดภัยในการใช้งานเหมาะกับการใช้งานทั่วไปหรือสำหรับองค์กรได้เลยค่ะ

ให้การทำงานของคุณง่ายดายยิ่งขึ้น ลองใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือกันดูนะคะ สำหรับใครที่สนใจสามารถอ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Seuic (New)AUTOID9

 722 total views,  2 views today

You cannot copy content of this page