Unbox MX Master 3 & MX Anywhere 3 | เม้าส์ตัวท็อปรุ่นล่าสุดจาก Logitech !

 

Logitech MX Master 3 และ Logitech MX Anywhere 3 คือเม้าส์ตัวท็อปส์รุ่นล่าสุดจากโลจิเทค โดยวันนี้เราจะมา Unbox และหาความแตกต่างระว่างเม้าส์ทั้งสองรุ่นนี้กัน โดยเริ่มต้นที่

 

MX Anywhere 3 กันก่อนเมื่อแกะกล่องออกมาจะพบกับคู่มือการใช้งาน สายชาร์จแบบ USB-C เป็น USB-A ตัวรับสัญญาณ USB Unifying และตัวเม้าส์ MX Anywhere 3

โดยตัวเม้าส์ MX Anywhere 3 ที่มีหน้าตาสวยงามโดดเด่น โดยเน้นเป็นรายริ้วๆ ด้านข้างตัวนี้ จะเน้นการออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด  เน้นพกพาออกไปใช้งานในที่ต่างๆ ส่วนด้านบนก็จะพบกับ สกอร์วีล หรือล้อเลื่อนสีเงินแปลกตา เนื่องจากตัวนี้จะเป็นตัวเลื่อนที่ทำจากเหล็กใช้งานด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้า Magspeed ที่มีความแม่นยำมากๆที่หากต้องการจะหยุดก็สามารถหยุดหมุนในระดับพิเซลและเร็วมากๆที่สามารถเลื่อนบรรทัดใน Excel ได้ 1000 บรรทัดในหนึ่งวินาที โดยแทบจะไม่มีเสียงเลย สำหรับปุ่มด้านหลังที่เห็นก็จะเป็นปุ่มสำหรับเปลี่ยนโหมดของตัวล้อเลื่อนว่าจะให้เป็นแบบแม่นยำหรือรวดเร็วนั่นเองค่ะ สำหรับปุ่มด้านข้างก็จะปุ่มลัดที่จะช่วยให้การทำงานของคุณง่ายยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าในโปรแกรมต่างๆได้อีกด้วย มาที่ส่วนด้านหน้าที่เป็นช่องชาร์จจะเป็นช่องรับ Type C สำหรับชาร์จไฟ และสุดท้ายคือด้านใต้เม้าส์จะมีปุ่มเปิดปิด ปุ่มเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเม้าส์ไว้พร้อมกันได้ 3 อุปกรณ์และส่วนของ Sensor ที่สามารถใช้งานได้เกือบทุกบนพื้นผิว รวมถึงกระจกที่หนากว่า 4 มิลลิเมตรค่ะ

 

และตัวต่อมาที่เราจะมาแกะกล่องกันก็คือ MX Master 3 ซึ่งในกล่องก็จะมีอุปกรณ์เหมือนกับ MX Anywhere 3 เลยค่ะ ทั้งคู่มือการใช้งาน สายชาร์จแบบ USB-C เป็น USB-A ตัวรับสัญญาณ USB Unifying และตัวเม้าส์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยรูปทรงของเม้าส์ก็จะมีขนาดใหญ่มีที่วางนิ้วโป้งจับได้สะดวกและถนัดมือ โดยปุ่มก็จะคล้ายกับ MX Anywhere 3 ทั้งล้อเลื่อนเหล็ก Magspeed ปุ่มปรับโหมดของล้อเลื่อน ช่องชาร์จแบบ Type C ปุ่มไปข้างหน้าและย้อนกลับ รวมถึงด้านใต้เม้าส์ที่มีปุ่มเปิดปิด ปุ่มเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้ 3 อุปกรณ์เหมือนกันและ Sensor แบบเดียวกัน แต่สิ่งที่จะมีเพิ่มขึ้นมาคือปุ่มเลื่อนด้านข้างสำหรับนิ้วหัวแม่มือ โดยสามารถปรับตั้งค่าให้ใช้งานได้ตามความต้องการแยกจากตัวล้อเลื่อนด้านบนค่ะ

 

เมื่อเรารู้จักอุปกรณ์ด้านนอกกันครบทั้ง 2 รุ่นแล้ว เราก็จะพบว่าทั้ง 2 รุ่นนั้นแตกต่างกันเพียงแต่หน้าตาเท่านั้น ส่วนภายในนั้นออกแบบมาเหมือนกันเลยก็ว่าได้ โดยเริ่มจากตัว Sensor Darkfield ที่มีความแม่นยำสูง 1000 dpi และนอกจากนี้ยังปรับได้ตั้งแต่ 200 ถึง 4000 DPI โดยเพิ่มได้ครั้งละ 50 dpi ส่วนต่อมาคือเรื่องของแบตเตอรี่ที่มาพร้อมแบตขนาด 500 มิลลิแอมป์ เมื่อชาร์จเต็มสามชั่วโมงผ่านช่อง Type C สามารถใช้งานสูงสุด 70 วัน และหากต้องการใช้งานด่วนสามารถชาร์จเพียง 1 นาทีจะทำให้ใช้งานได้ 3 ชั่วโมงค่ะ และเรื่องสุดท้ายคือการเชื่อมต่อ ทั้งสองรุ่นจะมีการเชื่อมต่อผ่าน USB ไร้สาย 2.4GHZ ผ่านตัวรับสัญญาณ USB Unifying และสามารถเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยี Bluetooth พลังงานต่ำ โดยได้ระยะไกลสูงสุด 10 เมตร

 

และสำหรับใครที่สงสัยว่าแล้วมันแตกต่างอะไรกับรุ่น For Mac โดยความแตกต่างจะมีเพียง 2 เรื่องเท่านั้นค่ะคือ รุ่นสำหรับ Mac จะเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ได้อย่างเดียวในกล่องจะไม่มี USB Unifying ให้ และตัวสายชาร์จที่จะเป็น USB-C ทั้ง 2 ด้านเพื่อรองรับกับ Mac รุ่นใหม่ๆที่ไม่มีพอร์ต USB แล้วนั่นเองค่ะ

ในส่วนของการตั้งค่า Logitech Options และ Logitech Flow ที่เม้าส์ตัวนี้สามารถใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมายโดยเทคนิคและวิธีการใช้งานสามารถรับชมได้จากในคลิปวิดีโอค่ะ

 

ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นว่าเม้าส์ทั้ง 2 รุ่น มีความแข็งแรงทนทานและรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ใช้งานได้หลากหลายพื้นผิว นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าปุ่มต่างๆแบบแยกโปรแกรมกันได้ผ่าน Logitech Options และสามารถย้ายไฟล์ข้ามเครื่องได้ง่ายๆผ่าน Logitech Flow ได้ค่ะ อีกทั้งยังรับประกันศูนย์ไทย 1 ปี หากใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ Logitech MX Master 3 และ Logitech MX Anywhere 3

 

 933 total views,  2 views today

You cannot copy content of this page